คุณแม่ชราคนหนึ่ง เดินเข้าไปหาหนังสือพิมพ์ในห้องของลูกชาย เผอิญลูกชายกลับบ้านมาพอดี
ลูกชายหัวเสีย มาจากการเจรจา การค้า การเจรจาครั้งนี้ ไม่ประสบผลสำเร็จ ลูกค้าไม่ยอมสั่งออร์เดอร์ตามเดิม
จึงรู้สึกหงุดหงิดมาก เมื่อเห็นแม่กำลังควานหาอะไร บนเตียงของเขา ความหงุดหงิดบวกกับความไม่พอใจ
จึงตวาดออกไปว่า “แม่มาทำอะไร ที่ห้องผม อย่ายุ่งของๆ ผมนะ ผมบอกแม่กี่ครั้งแล้ว”
แม่ของเขาหันมาอธิบาย แก่ลูกชายว่า “แม่หาหนังสือพิมพ์ก็เลย นั่งบนเตียงของแก แป๊บเดียวเอง”
ลูกชายแสดงสีหน้าไม่พอใจเป็นอย่างยิ่งก่อนเดินออกจากห้องแล้ว
กล่าวทิ้งท้ายว่า “อยู่บ้านก็ไม่ทำอะไร ว่างมากหรือไง?”
เที่ยงคืนของคืนนั้นแม่ชราผู้อาภัพได้สิ้นใจโดย ที่ลูกชายยังไม่ทันได้ร่ำลาเลย สักคำ
ท่านขงจื้อกล่าวไว้ว่า “การปรับสีหน้า ให้เป็นปกติ คือ กตัญญู”
เหตุใดการปรับสีหน้าให้เป็นปกติคือ ความกตัญญู ก็เพราะการจะทำสีหน้า ให้ปกติเป็นเรื่องยาก
“กับข้าวอยู่ที่โต๊ะนะกินไปเลย ไม่ต้องรอ หนูงานยุ่ง”
“ของพวกนี้ราคาแพงนะ เวลาใช้ก็ประหยัด หน่อยนะแม่”
“ดึกขนาดนี้จะมานั่งรอผมทำไมผมโตแล้วนะ
วันหลังไม่ต้องนะ แม่รู้ไปถึงไหน ผมก็อายไปถึงนั่น”
เรางานยุ่งถึงขนาดนั่งกินข้าว กับ พ่อแม่ได้ได้ เลยหรือ ?
หากของที่ซื้อมาในราคาแพงนั้น เราเอาไปให้เจ้านาย เราจะกล้าพูดแบบนี้ไหม ?
ความห่วงหาอาทรที่พ่อแม่มีต่อลูกมันไม่เคยจางหายไป จากใจขอบคุณท่าน
เมื่อเห็นท่านนั่งรอคุณกลับบ้าน เหมือนตอนขอบคุณเพื่อนๆ
ที่นั่งรอเวลาคุณไปงานเลี้ยงสาย คุณทำกับคนอื่นได้ แต่กับพ่อแม่คุณทำไม่ได้เลยหรือ ?
ท่านบรมครูขงจื้อจึงกล่าวไว้ว่า “ยามท่านอยู่เลี้ยงดูด้วย ความเคารพ ยามปรนนิบัติ ให้ความสุขสบาย
ยามท่านป่วยให้การดูแลเอาใจใส่หากวันหนึ่งท่านจากไป
ให้ความอาลัย อย่างสุดซึ้ง ยามบูชาเซ่นไหว้ให้ความสำรวม”
ได้โปรด ระลึกว่าวันหนึ่งเราทุกคน ก็ต้องแก่เพียง แต่พ่อแม่แก่ก่อนเรา
สิ่งที่เราควรมีก็คือความเข้าใจ และปฏิบัติต่อท่านเหมือน ที่เราอยากได้ จากลูกหลานในอนาคต
เราจึงมีความเพียรในการดูแลไม่ปรักปรำพร่ำบ่นยามท่าน อยู่ดูแลเอาใจใส่ ท่านเพิ่ม อีกสักนิด
เพราะเวลาของเรานับกัน เป็นปีแต่เวลาของท่าน อาจนับเป็นวัน แล้วก็ได้