8 คำพูด ที่พ่อแม่ไม่ควรนำมาใช้กับลูก มันไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น

8 คำพูด ที่พ่อแม่ไม่ควรนำมาใช้กับลูก มันไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น

1. พูดเปรียบเทียบหรือประชดประชัน

เช่นการที่คุณพ่อคุณแม่ใช้คำพูดในลักษณะนี้ เพราะอยากผลักดันให้ลูกนั้นเกิดความพยายามในการทำสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้น

หรือเพื่อให้ลูกพัฒนาตัวเองมากขึ้น แต่รู้มั้ยว่าคำพูดเหล่านี้กลับกลายเป็น

การทำร้ายจิตใจและทำให้เ ด็กรู้สึกว่าตัวเองด้อยค่า ไม่มีความสามารถ ไม่เก่งหรือไม่ดีพอเท่ากับเด็กคนอื่น

กลายเป็นเด็กที่ไม่กล้าแสดงออกขาดความมั่นใจ และอาจทำให้เด็กมีนิสัย

ขี้อิจฉาสร้างความเกลียดชังให้กับคนที่เด็กโดนเอาไปเปรียบเทียบโดยไม่รู้ตัว ทำให้เด็กต่อต้านเรา

2. พูดเข้าข้างเมื่อลูกทำผิด

เช่น ลูกฉันไม่ผิด ไหนใครว่าลูกฉัน การพูดเช่นนี้ เป็นการสร้างนิสัยเอาแต่ใจ

และไม่ยอมคนให้กับเด็ก เป็นการตามใจลูกในทางที่ผิด หรือที่เรียกว่าพ่อแม่รังแกฉัน

เพราะทำให้เด็กไม่รู้จักแยกแยะ ผิดชอบ ชั่วดี และเมื่อโตขึ้นเด็กก็จะรับไม่ได้ เมื่อถูกต่อว่าหรือโดนตำหนิ

ดังนั้น ถ้าพบว่าลูกทำผิดจริง อันดับแรกเลย คุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้เด็กรู้จักขอโทษ และยอมรับผิด

ห้ามออกรับแทนลูกเด็ดขาด และชี้ให้เห็นว่าอะไรถูกหรือผิด อะไรควรทำหรือไม่ควรทำ

เพราะอะไรและถ้าทำผิดแล้ว จะมีผลอย่างไรตามมา เพื่อให้เด็กเข้าใจและปรับปรุงตัวเอง นอกจากจะสอนด้วย

คำพูดแล้วคุณพ่อคุณแม่เองก็ต้องทำตัวเป็นแบบอ ย่างที่ดี ให้กับลูกๆ ด้วย เพราะบางอย่างก็ได้ผลมากกว่าการใช้แค่คำพูด

3.สั่งลูกไม่ให้ร้องไห้

การสั่งห้ามไม่ให้เ ด็กร้องไห้ โดยเฉพาะเมื่อผู้ปกครองกำลังมีอารมณ์ด้วยแล้วจะทำให้เด็กรู้สึกกลัวมากขึ้น

และไม่สามารถหยุดร้อง หรือจัดการกับอารมณ์ตัวเองได้ เพราะรู้สึกว่าคุณพ่อคุณแม่

ไม่เข้าใจในสิ่งที่เขากำลังเป็นทุกข์อยู่สิ่งที่ควรจะทำก็คือ ปล่อยให้เด็กร้องไห้

เพื่อระบายความอัดอั้นตันใจไปก่อนแล้วค่อยๆ บอกลูกให้เข้าใจว่าเวลาที่เราเสียใจ เราสามารถแสดงออกมาได้

ซึ่งการร้องไห้ก็ถือเป็นการแสดงออกในรูปแบบหนึ่ง ถ้าลูกหยุดร้องและสงบแล้ว เราค่อยมาคุยกันว่าเกิดอะไรขึ้น

เพื่อให้เด็กรู้ว่าคุณพ่อคุณแม่นั้นก็เป็นห่วง และกำลังช่วยให้เขาเข้าใจ และหาวิธีจัดการกับอารมณ์ของตัวเองอยู่

4.พูดเชิงบังคับเคี่ยวเข็ญ

เช่น ทำไมไม่รับผิดชอบอะไรเลย ต้องพยายามให้มากกว่านี้สิ เทอมนี้เกรดต้องดีกว่านี้นะ

การใช้คำพูดเชิงบังคับเคี่ยวเข็ญส่งผลคล้ายกับการพูดเปรียบเทียบ นั่นคือ ทำให้เด็กรู้สึกไม่มีคุณค่า

ไม่กล้าแสดงออก ทำให้เด็กรู้สึกเครียด และกดดันตัวเอง จนทำให้กลายเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย

ไม่ไว้ใจผู้อื่น หรือมุ่งสู่ความสำเร็จเพียงอย่างเดียว โดยไม่สนใจคนรอบข้างและยังทำให้

ความสัมพันธ์ในครอบครัวไม่ราบรื่น เพราะเด็กอาจแสดงความก้าวร้าวรุนแรงต่อต้านผู้ปกครอง

5.คำสั่งห้ามต่างๆ เช่น ไม่ หยุด อย่า

การพูดห้ามเด็กบ่อยๆ จะทำให้เด็กขาดความมั่นใจ ที่จะทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง

เพราะกลัวที่จะทำผิดหรือทำแล้วไม่ถูกใจผู้อื่น ทำให้เด็กไม่กล้าคิดและไม่กล้าทดลองทำสิ่งใหม่ๆ

ซึ่งอาจจะทำให้เขาเสียโอกาสที่จะเรียนรู้ว่าตัวเองมีความสามารถด้านไหน ชอบหรือไม่ชอบทำอะไร

และทำอะไรได้ดี แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะพูดคำเหล่านี้ไม่ได้เลย ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ด้วย

เพราะถ้าอยู่ในสถานการณ์ที่อันตราย หรือไม่เหมาะสม ก็สามารถพูดได้

ที่สำคัญก็คือควรมีการอธิบายให้เด็กเข้าใจถึงเหตุผลว่า สิ่งนี้ทำไม่ได้เพราะอะไร

หรือถ้าเป็นสถานการณ์ปกติทั่วไปก็สามารถเปลี่ยน คำพูดจากการห้ามเป็นการบอกสิ่งที่เด็กควรทำให้ชัดเจน

เช่น เดินจับมือแม่ไปด้วยกันนะคะ หนูจะได้ไม่หลง แทนคำว่าอย่าวิ่งไปไหนนะ เป็นต้น

6.ตวาดหรือพูดด้วยอารมณ์เมื่อโมโห หรือขาดสติ

การพูดโดยใช้อารมณ์เวลาที่โมโห หรือขาดสติ อาจทำให้เด็กจดจำและนำไปลอกเลียนแบบได้

เพราะเด็กจะซึมซับและคิดว่าการพูดไม่ดีเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ดังนั้นเวลาที่คุณพ่อคุณแม่

โมโหหรืออารมณ์ไม่ดี ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นได้ให้ลองหลับตา

แล้วหายใจช้าๆ พยายามทำจิตใจให้สงบและตั้งสติก่อน แล้วค่อยพูดกับลูก พยายามพูดคุย หรืออธิบายด้วยเหตุผล

7.คำพูดขู่

เช่น เดี๋ยวจะเอาไปทิ้ง อย่าทำแบบนี้เดี๋ยวตำรวจมาจับ หรือผีมาหลอกนะ

การขู่ที่มีเงื่อนไขของการไม่ได้รับความรักหรือการถูกทิ้ง จะทำให้เด็กขาดความมั่นใจในตัวเอง เพราะไม่แน่ใจว่า

เป็นที่รักของครอบครัวหรือไม่ และทำให้เด็กเกิดความหวาดระแวง กลายเป็นคนขี้กลัว

นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความเข้าใจผิดให้กับเด็กอีกด้วยว่า การได้มาซึ่งความรัก จะต้องมีเงื่อนไขเข้ามาเกี่ยวข้อง

ซึ่งอาจนำไปสู่การสูญเสียความนับถือในตัวเองและผู้อื่นได้

8.ใช้คำพูดล้อเลียนหรือเลียนแบบคำที่เด็กพูดไม่ชัด

บางครั้งผู้ใหญ่ก็ไม่ได้คิดว่าคำบางคำเป็นการล้อเลียนเด็ก

เพราะคิดว่าพูดกันเล่นๆ สนุกๆ และมองว่าเด็กยังเล็กคงไม่เข้าใจอะไรมาก

แต่เมื่อเด็กโตขึ้น มีสังคมที่กว้างขึ้น คำพูดเหล่านั้น

จะทำให้เด็กรู้สึกอายไม่มั่นใจในตัวเอง เพราะหวาดกลัวที่จะโดนล้อเลียนจากครอบครัวและผู้อื่น

ทำให้เด็กไม่ชอบในสิ่งที่ตัวเองเป็น จนอาจกลายเป็นปมในใจของเด็กได้

คุณพ่อคุณแม่จึงควรพยายามพูดให้เด็กเห็นข้อดีของตัวเอง ภูมิใจในสิ่งที่ตัวเองมีหรือเป็น

ชี้ให้เห็นว่าแต่ละคนมีความแตกต่างกัน และไม่จำเป็นต้องยึดติดกับรูปลักษณ์ภายนอกเสมอไป